โครงการศึกษาการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลบนเกาะลิบง ภายใต้การนำของ ผศ ดร.ปุณยนุช รุธิรโก และดร.นรันต์ ณัฏฐารมณ์ มุ่งสำรวจการคัดแยกขยะและการรีไซเคิลในชุมชน โดยมีข้อมูลปริมาณวัสดุรีไซเคิล 29.80 ตันในปี 2566 และการสนับสนุนจาก อบต.เกาะลิบงในการตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน ช่วยส่งเสริมการจัดการขยะอย่างยั่งยืนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น.
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมด้านพลังงานหมุนเวียน มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar PV Rooftop) ขนาด 455.04 กิโลวัตต์ โดยติดตั้ง 3 อาคาร ได้แก่ อาคารภูเก็ต อาคารสุราษฎร์ธานี และ อาคารศูนย์กีฬาและกิจการนักศึกษา
1.น้ำอุปโภค – บริโภค จากแหล่งน้ำใต้ดิน (น้ำบาดาล) ปัจจุบัน มหาวิทยาลัย มีการขุดเจาะใช้น้ำบาดาลทั้งสิ้นจำนวน 9 บ่อ ซึ่งได้ดำเนินการขออนุญาติจากกรมทรัพยากรกรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามกฎหมาย และทางกรมฯก็จะเข้ามาตรวจสอบทุกเป็นประจำทุกปี
SDGs
SDGs
SDGs
ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ เพื่อใช้สำหรับการให้น้ำโรงเพาะเห็ดนางฟ้าและรดน้ำแปลงผักเกษตรอินทรีย์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ดำเนินจัดโครงการเกษตรอินทรีย์และกำลังพัฒนาไปสู่สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) โดยการนำระบบเซ็นเซอร์ เพื่อใช้สำหรับการให้น้ำโรงเพาะเห็ดนางฟ้าและรดน้ำแปลงผักเกษตรอินทรีย์
ติดตั้งระบบการใช้น้ำสำหรับการชักโครก
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีการลดประมาณการใช้น้ำสำหรับการชักโครก โดยนำน้ำใส่ขวดน้ำพลาสติก 1 ขวดปิดฝาให้แน่น เพื่อแทนที่น้ำในแทงก์น้ำชักโครก โดยจัดวางไม่ให้ขวางทางไหลเข้า-ออกของน้ำ เมื่อทำการทดลองวางและกดน้ำแต่ละครั้งพบว่า สามารถไล่สิ่งปฏิกูลได้หมดโดยพบว่า การกดชักโครก 1 ครั้ง ประหยัดน้ำ เท่าน้ำดื่ม 3 ขวด น้ำขวดละ 500 ml. x 3 ขวด ประหยัดได้ 1.5 ลิตร ต่อการกด 1 ครั้ง
ติดตั้งระบบสปริงเกอร์รดน้ำ
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มีการควบคุมการใช้น้ำบริเวณรอบๆ มหาวิทยาลัย เช่น การติดตั้งระบบสปริงเกอร์รดน้ำ เพื่อรดน้ำต้นไม้และกระจายน้ำให้ทั่วถึงบริเวณสนามหญ้าฟุตบอล และการติดตั้งระบบน้ำหยด เพื่อเป็นการรดน้ำได้ตรงจุดเฉพาะที่เจาะจง ดังภาพที่ 6 และการนำระบบเซ็นเซอร์และการสั่งการผ่านแอพพลิเคชั่นผ่าน Smart Phone มาใช้ในการควบคุมระบบพ่นละอองน้ำในโครงการเพาะเห็ดนางฟ้า
SDGs
SDGs
SDGs