การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

โครงการศึกษาการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลบนพื้นที่เกาะอย่างยั่งยืน: พื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน (เกาะลิบง) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปุณยนุช  รุธิรโก และดร.นรันต์ ณัฏฐารมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย ซึ่งเป็นการต่อยอดขยายผลจากการนําร่องสนับสนุนการคัดแยกและรีไซเคิลขยะบนเกาะช้าง เกาะหมาก และเกาะสีชัง ภายใต้โครงการจัดการการรีไซเคิลบนเกาะ–อ่าวไทยฝั่งตะวันออก ที่ดําเนินการโดยศูนย์วิจัยระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อประเทศไทยปลอดขยะ (Circular Economy for Waste-free Thailand) หรือ CEWTมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและมูลนิธิโคคา-โคลา ประเทศไทย (มูลนิธิฯ) วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ คือ การจัดทำข้อมูลปริมาณวัสดุรีไซเคิลที่ได้รับการขนส่งออกจากเกาะของปีฐาน (basedine) และบทบาทของกลุ่มคนต่าง ๆ ภายในเกาะลิบงที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ ตลอดจนการประเมินความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการจัดการขยะและวัสดุรีไซเคิลด้วยชุมชน 

สําหรับการจัดการขยะที่ต้นทาง ประชาชนบางสวนมีการแยกขยะมูลฝอยที่มีการรับซื้อกันในเกาะ โดยทาง อบต.เกาะลิบง ได้สนับสนุนให้โรงเรียนเกาะลิบงและโรงเรียนบาตูปูเตะจัดตั้งธนาคารขยะในโรงเรียน ส่วนการเก็บขนขยะที่กลางทางนั้นทาง อบต.มีการบริหารจัดการขยะบนเกาะลิบง มีรถกระบะบรรทุกขยะขนาด 3 ตันจํานวน 1 คัน สําหรับการรับซื้อของเก่าในพื้นที่พบว่ามีผู้ประกอบการท้องถิ่นขนาดเล็ก 4 ราย โดยส่วนมากผู้ประกอบการและแรงงานที่คัดแยกขยะเป็นผู้หญิง ซึ่งจากการเก็บข้อมูลระหว่างเมษายน-ธันวาคม 2566 พบว่ามีการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลรวมกันประมาณ 29.80 ตัน หรือเฉลี่ย 3.31 ตันต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 53 ของปริมาณขยะรีไซเคิลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณ 6.28 ตันต่อเดือน 


SDGs :